2009-01-26
สุริยุปราคาวงแหวน วันที่ 26 มกราคม 2552 - Solar Eclipse of 2009-01-26
ภาพนี้เป็นภาพของสุริยุปราคาบางส่วนที่ถ่ายในกรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 16:52 น. โดยใช้เทคนิคการเปิดหน้ากล้องสั้น รูรับแสงแคบ และใช้ฟิลเตอร์เพื่อลดทอนแสง จากนั้นก็ยกกล้อง เล็ง แล้วถ่ายเลย (ดีนะตาไม่บอด 555+)
This photograph of a solar eclipse was taken in Bangkok at 1652 hrs. Techniques used include short exposure time, narrow aperture, and 3 filters mounted to cut down on light. Then I lifted, aimed, and fired. (Good thing it was fast, so I wasn't blinded!)
Camera: Nikon D60
Exposure Time: 1/1250s
Aperture: F22
Lens: 35mm (wide FOV to reduce damage to camera)
ISO Equivalence: 100
Filters: 2 CPL, ND8 (mounted all at once)
ภาพข้างต้นจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย ต่อไปนี้เป็นข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย
Image above taken from the Thai Astronomical Society. The following is the information from the Society. Translation by blog author, not affiliated or work of the Society.
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเริ่มในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่ 26 มกราคม ตามเวลาในประเทศไทย ตรงกับวันตรุษจีน ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ไม่มิดหมดทั้งดวง เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกในเวลา 13.06 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย จุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 7 นาที 56 วินาที
The first solar eclipse started in the afternoon of Monday, January 26 according to Thai local time, which is on the Chinese New Year's Day. The moon is far from the Earth and appears smaller than the Sun, so the moon does not completely obscure the Sun. Most of the eclipse track lies in the sea. The moon's umbra first touches the Earth surface on the south of Atlantic Ocean at 1306 hrs GMT+7, then moves eastward into Indian Ocean. The place which sees the longest period of the eclipse lies in the sea for 7 minutes and 56 seconds.
ศูนย์กลางเงาผ่านหมู่เกาะขนาดเล็กของเครือรัฐออสเตรเลียในมหาสมุทร อินเดีย แตะผืนดินทางใต้ของเกาะสุมาตรากับด้านตะวันตกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย จากนั้นผ่านช่องแคบกะริมาตา เกาะบอร์เนียว กับบางส่วนทางตอนเหนือของเกาะเซลีเบส สุริยุปราคาวงแหวนสิ้นสุดในเวลา 16.52 น. เป็นจังหวะที่ศูนย์กลางเงาหลุดออกจากผิวโลกในทะเลระหว่างเกาะเซลีเบสกับเกาะ มินดาเนา
The center of shadow passes through the small islands in the Australian territory, touches the southern part of Sumatra and the eastern part of Java Island, then through Selat Karimata, Borneo Island, northern parts of Celebes Island. The eclipse ends at 1652 hrs, which is when the shadow center lifts from the Earth's sea between the Celebes Island and Mindanao Island.
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมทางใต้ของทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย (ยกเว้นแทสเมเนีย) รวมไปถึงบางส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่
Areas with visible partial eclipse include the southern part of Africa, Madagascar, parts of Antarctica, southeastern parts of India, southeast Asia, Australia (excluding Tasmania), and southeastern part of China Mainland.
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดบางส่วน ต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือการสังเกตการณ์ทางอ้อม ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด โดยเฉลี่ยเริ่มเวลาประมาณ 16.00 น. บังเต็มที่ในเวลาประมาณ 17.00 น. และสิ้นสุดในเวลาประมาณ 18.00 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งทางซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนเมื่อเทียบกับขอบฟ้า หลายจังหวัดทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน จะยังคงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่เล็กน้อยในจังหวะที่ดวงอาทิตย์ตกดิน
Thailand is situated in the area of partial eclipse (penumbra). Light-reduction filter or indirect observation is required to safely observe the eclipse. The Southern part has the highest chance of seeing partial eclipse. At mean, the eclipse starts at 1600 hrs, maximum obscurity at 1700 hrs, and ends at 1800 hrs. The Sun will be obscured from upper left part compared to horizon. Many provinces in eastern Isan region can see the sun slightly covered at the time of sunset.
Labels:
astronomy,
eclipse,
knowledge,
phenomenon,
photography,
sol,
the Sun
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
สวยงะ.... แต่เราถ่ายไม่เป็น - -"
ReplyDeleteตอนถ่าย ตั้ง Auto...
พยายามถ่ายพระอาทิตย์ให้เป็นเสี้ยวๆ...
กล้องดัน Auto Complete มาให้เต็มวงเลยซะงั้น - -"
วันนั้นไม่ได้คิดจะดูเลยซักนิด ฮ่าๆ
ReplyDeleteแต่แน่นอนว่าถ้าให้ถ่าย เราก็คงถ่ายไม่ได้อยู่ดีแหละ >_<